ตัวแสดงระดับพลังงานสำรองจะช่วยให้คุณทราบสถานะของการไขลานสปริงหลัก
ก่อนถอดนาฬิกาออกจากข้อมือของคุณ ให้สังเกตตัวแสดงระดับพลังงานสำรองเพื่อตรวจสอบว่านาฬิกามีพลังงานเพียงพอที่จะทำงานต่อไปจนกว่าจะถึงเวลาที่คุณจะใส่อีกครั้งหรือไม่ หากจำเป็น ให้ไขลานสปริงหลักก่อน (เพื่อป้องกันไม่ให้นาฬิกาหยุดเดิน ไขลานสปริงหลักเพื่อเก็บพลังงานส่วนเกินที่จะทำให้นาฬิกาสามารถเดินต่อไปได้ในช่วงเวลาเพิ่มเติมอื่นๆ)
ตัวแสดงระดับพลังงานสำรอง |
||||||
สถานะการไขลานของสปริงหลัก |
ไขลานเต็มที่ |
ไขลานครึ่งหนึ่ง |
ไม่ได้ไขลาน |
|||
จำนวนชั่วโมงที่นาฬิกาสามารถใช้งานได้ |
ประมาณ 72 ชั่วโมง (3 วัน) |
ประมาณ 36 ชั่วโมง (1 วันครึ่ง) |
นาฬิกาหยุดหรือกำลังจะหยุดเดิน |
เมื่อสปริงหลักถูกไขลานเต็มที่ เม็ดมะยมจะหมุนได้มากขึ้น หรือสปริงหลักอาจได้รับการไขลานต่อโดยไม่สร้างความเสียหายให้กับตัวสปริงหลัก สปริงหลักของนาฬิกาใช้โครงสร้างตัวยึดที่เลื่อนไหลซึ่งเป็นกลไกเฉพาะของนาฬิกาไขลานอัตโนมัติเพื่อป้องกันสปริงหลักจากการไขลานมากเกินไป
ทิศทางของ“ตัวแสดงระดับพลังงานสำรอง”อาจแตกต่างกันเล็กน้อยขึ้นอยู่กับรุ่น
ข้อสังเกตเกี่ยวกับกลไกการไขลานอัตโนมัติของสปริงหลัก
สปริงหลักของนาฬิกาจะได้รับการไขลานจนเต็มที่เมื่อสวมใส่เป็นเวลาสิบสองชั่วโมงเป็นเวลาสามถึงห้าวัน
สถานะการไขลานของสปริงหลักอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งานจริงเช่น จำนวนชั่วโมงที่คุณสวมใส่นาฬิกาหรือขอบเขตของการเคลื่อนไหวขณะสวมใส่ ขอแนะนำให้คุณสังเกตตัวแสดงระดับพลังงานสำรองเพื่อตรวจสอบระดับพลังงานที่เหลืออยู่ของนาฬิกาของคุณ
ในกรณีที่คุณสวมนาฬิกาเป็นเวลาสั้นๆ ในแต่ละวันให้สังเกตตัวแสดงระดับพลังงานสำรองเพื่อตรวจสอบระดับพลังงานที่เหลืออยู่ หากจำเป็น ให้ไขลานสปริงหลักก่อน