สามารถหมุนขอบหน้าปัดแบบหมุนเพื่ออ่านค่าเวลาอื่นได้จากเข็ม 24 ชั่วโมง
ในกรณีที่ตั้งเวลาเข็มแบบ 24 ชั่วโมงเป็นเวลาแบบ 24 ชั่วโมงทั้งในส่วนของเข็มชั่วโมงและนาที
<ทิศทางและรอบการหมุนขอบหน้าปัดแบบหมุนสามารถพิจารณาได้จากวิธีการต่อไปนี้>
[ทิศทางและรอบการหมุนขอบหน้าปัดแบบหมุน] E
คำนวณเป็น
[ส่วนต่างเวลาจาก UTC สำหรับเข็ม 24 ชั่วโมง, C] - [ส่วนต่างเวลาจาก UTC ของภูมิภาคที่ต้องการทราบ, D]
E = C - D
จากตัวอย่างนี้ เข็ม 24 ชั่วโมงใช้ระบุเวลาของญี่ปุ่น ดังนั้น C = +9
-
เช่น หากเวลาในภูมิภาคที่คุณต้องการทราบอยู่ในเขตเวลา UTC ส่วนต่างเวลาจาก UTC จะเป็น “0” ดังนั้น
D = 0
E = C - D = (+9) - (0) = +9
สามารถอ่านเวลา UTC เป็น “1:00” ที่ขอบหน้าปัดแบบหมุน -
ตัวอย่างเพิ่มเติม หากคุณต้องการทราบเวลาของ “ลอสแอนเจลลิส” ส่วนต่างเวลาจาก UTC จะเป็น “-8 ชั่วโมง” ดังนั้น D = 8
E = C - D = (+9) - (-8) = +17
หมุนขอบหน้าปัดไป 17 ชั่วโมงตามเข็มนาฬิกา (ผลลัพธ์: เหมือนกับการหมุนทวนเข็มนาฬิกา 7 ชั่วโมง)
สามารถอ่านค่าเวลาในลอสแอนเจลลิสเป็น “17:00”
หาก E เป็นเลขบวก “+” ให้หมุนขอบหน้าปัดตามเข็มนาฬิกา หากเป็นเลขลบ “-” ให้หมุนทวนเข็มนาฬิกา
เมื่อไม่ต้องการใช้ฟังก์ชั่นนี้อีก ให้ปรับคืนตำแหน่ง "24" สำหรับขอบหน้าปัดหมุนได้ไปที่ 12 ชั่วโมง
ในกรณีที่ตั้งเวลาเข็มแบบ 24 ชั่วโมงเป็นเขตเวลาอื่น
สามารถอ่านค่าเขตเวลาที่ต่างกันสามพื้นที่โดยหมุนขอบหน้าปัดนาฬิกา
【ตัวอย่าง】 ขณะแสดงเวลาในญี่ปุ่นเป็น 10:08 AM โดยใช้เข็มชั่วโมงและเข็มนาที และแสดงเวลาในปารีสผ่านเข็ม 24 ชั่วโมง
ส่วนต่างเวลาจากเวลา UTC ใน “ปารีส” โดยมีการปรับเข็ม 24 ชั่วโมงไว้, C = +1
ส่วนต่างเวลาจากเวลา UTC ใน “กรุงเทพฯ” ที่คุณต้องการรับแจ้งจากนี้ไป, D = +7
E=C-D= (+1) - (+7) = -6
หมุนขอบหน้าปัดทวนเข็มนาฬิกาแล้วทำการปรับตั้ง