Seiko Presage Craftsmanship series Arita Porcelain Dial
Seiko Presage Craftmanship series
Arita Porcelain Dial
อาริตะ (Arita) เมืองเล็กๆ บนเกาะคิวชู (Kyushu) เกาะใหญ่เป็นอันดับ 3 ของญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ มีชื่อเสียงในเรื่องโด่งดังมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ในเรื่องของการผลิตภาชนะเครื่องเคลือบ (Porcelain) หลังจากที่มีการค้นพบหลักฐานในการผลิตที่นี่ ทำให้เครื่องเคลือบของเมืองอาริตะได้กลายเป็นของล้ำค่าของประเทศญี่ปุ่นในเวลาต่อมาจากคุณภาพระดับสูงในด้านงานฝีมือในการทำงานของพวกเขา
หน้าปัดแบบกระเบื้องเคลือบของอาริตะสะท้อนถึงความใส่ใจและงานฝีมือระดับสูงที่มีอยู่ในนาฬิกาคอลเล็กชั่นพรีซาจ (Presage) ความบางเฉียบของหน้าปัดนับว่าไม่ธรรมดา ด้วยความหนาประมาณ 1 มิลลิเมตร และสร้างสรรค์ให้มีความโค้งลงจากช่วงของหลักชั่วโมงไปจนถึงตำแหน่งกึ่งกลางของหน้าปัดเพื่อทำให้เกิดความรู้สึกที่ดูอ่อนช้อยและมีมิติ
ภายใต้การทำงานและการดูแลของฮิโรยูกิ ฮาชิกุชิ (Hiroyuki Hashigushi) ซึ่งเป็นช่างฝีมือที่มีความชำนาญในการผลิตเครื่องลายครามอาริตะ การผลิตหน้าปัดที่มีความบางแต่ให้มิตินั้นถือเป็นเรื่องที่ท้าทายต่อข้อจำกัดของการผลิตแม่พิมพ์เพื่อใช้ในการหล่อขึ้นรูปตามกระบวนการผลิตเครื่องลายครามอาริตะแบบดั้งเดิม คุณภาพที่ไม่เหมือนใครบนพื้นผิวของเครื่องลายครามได้รับการตกแต่งอย่างประณีตเพื่อให้เกิดความแวววาวและให้สัมผัสที่ดูอ่อนโยน
ภายใต้การทำงานและการดูแลของฮิโรยูกิ ฮาชิกุชิ (Hiroyuki Hashigushi) ซึ่งเป็นช่างฝีมือที่มีความชำนาญในการผลิตเครื่องลายครามอาริตะ การผลิตหน้าปัดที่มีความบางแต่ให้มิตินั้นถือเป็นเรื่องที่ท้าทายต่อข้อจำกัดของการผลิตแม่พิมพ์เพื่อใช้ในการหล่อขึ้นรูปตามกระบวนการผลิตเครื่องลายครามอาริตะแบบดั้งเดิม คุณภาพที่ไม่เหมือนใครบนพื้นผิวของเครื่องลายครามได้รับการตกแต่งอย่างประณีตเพื่อให้เกิดความแวววาวและให้สัมผัสที่ดูอ่อนโยน
การผลิตหน้าปัดแบบกระเบื้องเคลือบอาริตะของ Seiko จำเป็นจะต้องมีการทำงานด้านวิจัยและพัฒนาเพื่อให้บรรลุผลในแง่ของความทนทานและความแข็งแกร่งเมื่อต้องเป็นหน้าปัดที่อยู่บนนาฬิกาข้อมือ
การนำธรรมเนียมปฏิบัติในระดับเวิลด์คลาสของญี่ปุ่นมาผสมผสานกับเทคโนโลยี หน้าปัดแบบกระเบื้องเคลือบอาริตะได้รับการผลิตจากวัสดุที่ใช้ในการผลิตเครื่องลายครามที่มีความทนทานสูงมาก นั่นหมายความว่าวัสดุที่ใช้จะมีความแข็งมากกว่าที่ใช้ในการผลิตเครื่องเคลือบลายครามทั่วไปถึง 4 เท่า
นอกจากนั้น ในเรื่องของกระบวนการหล่อขึ้นรูปยังมีการใช้แม่พิมพ์ที่มีความเที่ยงตรงระดับสูงสุด และมีการเผาที่ความร้อนระดับสูงถึง 1,300 องศาเซลเซียส จากนั้นหน้าปัดจะถูกเคลือบและเผาอีกหลายครั้ง ซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่เสร็จสมบูรณ์ของกระบวนการผลิตที่มีความท้าทายเป็นอย่างยิ่ง
การนำธรรมเนียมปฏิบัติในระดับเวิลด์คลาสของญี่ปุ่นมาผสมผสานกับเทคโนโลยี หน้าปัดแบบกระเบื้องเคลือบอาริตะได้รับการผลิตจากวัสดุที่ใช้ในการผลิตเครื่องลายครามที่มีความทนทานสูงมาก นั่นหมายความว่าวัสดุที่ใช้จะมีความแข็งมากกว่าที่ใช้ในการผลิตเครื่องเคลือบลายครามทั่วไปถึง 4 เท่า
นอกจากนั้น ในเรื่องของกระบวนการหล่อขึ้นรูปยังมีการใช้แม่พิมพ์ที่มีความเที่ยงตรงระดับสูงสุด และมีการเผาที่ความร้อนระดับสูงถึง 1,300 องศาเซลเซียส จากนั้นหน้าปัดจะถูกเคลือบและเผาอีกหลายครั้ง ซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่เสร็จสมบูรณ์ของกระบวนการผลิตที่มีความท้าทายเป็นอย่างยิ่ง
หลักชั่วโมงและชุดเข็มสีฟ้าตัดกับพื้นสีขาวอันบริสุทธิ์ของหน้าปัดแบบกระเบื้องลายครามซึ่งช่วยยกระดับความสวยได้เป็นอย่างดี
※SPB293J1
※SPB293J1
นาฬิการุ่นนี้มาพร้อมกับหน้าปัดแบบพิเศษที่ถูกสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดโทนสีฟ้าอ่อนจางๆ ซึ่งเป็นการผลิตตามกระบวนการย้อมแบบดั้งเดิมที่เรียกว่า ‘รูริ โซเมะ’ (Ruri Zome) ซึ่งได้ถูกนำมาใช้กับงานผลิตเครื่องเคลือบอาริตะอย่างเช่น ชามกระเบื้องเคลือบลายครามแบบมีขาของคิวชูที่มาพร้อมกับการตกแต่งด้วยลวดลายนกกระสา
※SPB319J1
※SPB319J1
หน้าปัดแบบกระเบื้องเคลือบได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นมาด้วยความเชี่ยวชาญของผู้ผลิตจากเมืองอาริตะ ซึ่งผลิตเครื่องเคลือบมาตั้งแต่ปี 1830 ฮิโรยูกิ ฮาชิกุชิ (Hiroyuki Hashiguchi) นับเป็นช่างฝีมือระดับสูง เขาและเพื่อนร่วมงานได้พัฒนาการผลิตหน้าปัดแบบนี้ร่วมกับทีมพัฒนานาฬิกาพรีซาจของ Seiko
ช่างฝีมือระดับสูงในการผลิตเครื่องลายคราม
ฮิโรยูกิ ฮาชิกุชิ
Seiko Presage Craftmanship series
Arita Porcelain Dial
SPB293J1
[คาลิเบอร์ 6R31]
พร้อมจำหน่ายในเดือนมิถุนายน 2022
[คาลิเบอร์ 6R31]
พร้อมจำหน่ายในเดือนมิถุนายน 2022
SPB319J1
[คาลิเบอร์ 6R31]
พร้อมจำหน่ายในเดือนมิถุนายน 2022
[คาลิเบอร์ 6R31]
พร้อมจำหน่ายในเดือนมิถุนายน 2022