ตัวแสดงระดับพลังงานสำรองจะช่วยให้คุณทราบสถานะของการไขลานสปริงหลัก
ก่อนถอดนาฬิกาออกจากข้อมือของคุณ ให้สังเกตตัวแสดงระดับพลังงานสำรองเพื่อตรวจสอบว่านาฬิกามีพลังงานเพียงพอที่จะทำงานต่อไปจนกว่าจะถึงเวลาที่คุณจะใส่อีกครั้งหรือไม่ หากจำเป็น ให้ไขลานสปริงหลักก่อน (เพื่อป้องกันไม่ให้นาฬิกาหยุดเดิน ไขลานสปริงหลักเพื่อเก็บพลังงานส่วนเกินที่จะทำให้นาฬิกาสามารถเดินต่อไปได้ในช่วงเวลาเพิ่มเติมอื่นๆ)
เวลาทำงานต่อเนื่องของนาฬิกาอาจแตกต่างกันไปตามสภาพการใช้งาน (เช่น จำนวนชั่วโมงที่สวมนาฬิกา หรือการขยับแขนขณะสวมใส่)
ในกรณีที่คุณสวมนาฬิกาเป็นเวลาสั้นๆ ในแต่ละวันให้สังเกตตัวแสดงระดับพลังงานสำรองเพื่อตรวจสอบระดับพลังงานที่เหลืออยู่ หากจำเป็น ให้ไขลานสปริงหลักก่อน
วิธีอ่านตัวแสดงระดับพลังงานสำรอง
จากภาพด้านล่าง เมื่อส่วนแสดงสถานะชี้ไปที่เกือบ 40 หรือ F ที่ตัววัด แสดงว่าไขจนสุดแล้ว ขณะที่สปริงหลักคืนตัว ส่วนแสดงสถานะจะเคลื่อนไปหา 0 หรือ E
ความแม่นยำของนาฬิกาแบบกลไกจะขึ้นอยู่กับระดับการไขลานของสปริงหลัก หากนาฬิกาใช้งานมาเป็นเวลานาน หากไขลานไว้ 20 ชั่วโมงหรือน้อยกว่า ความแม่นยำในการบอกเวลาอาจไม่เสถียรนัก ดังนั้นแนะนำให้ไขลานไว้ระหว่าง 20 ชั่วโมงจนถึงสุดระยะขณะใช้นาฬิกา
หลังจากสปริงหลักขันสุด หากขันต่อไปลานจะลื่นผ่านเพื่อไม่ให้สปริงหลักเสียหายแม้ว่าจะขันเกินรอบก็ตาม
ส่วนแสดงสถานะอาจเคลื่อนเกินกว่า 0 หรือ E ซึ่งไม่ถือเป็นการทำงานที่ผิดพลาด
ตัวแสดงระดับพลังงานสำรอง |
||||||
สถานะการไขลานของสปริงหลัก |
ไขลานเต็มที่ |
ไขลานครึ่งหนึ่ง |
ไม่ได้ไขลาน |
|||
จำนวนชั่วโมงที่นาฬิกาสามารถใช้งานได้ |
ประมาณ 41 ชั่วโมง |
ประมาณ 20 ชั่วโมง |
นาฬิกาหยุดหรือกำลังจะหยุดเดิน |
โครงสร้างของแต่ละรุ่นจะมีความแตกต่างกัน ดูเวลาทำงานต่อเนื่องโดยประมาณได้จากแผนภาพด้านบน